รถไฟความเร็วสูงไทย - จีน
พัฒนาระบบรางไทย เชื่อมโยงเครือข่ายสู่สากล
โครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย เป็นโครงการ
เชิงยุทธศาสตร์ในการเชื่อมโยงภูมิภาคอาเซียน เป็นเส้นทางที่จะเชื่อมโยงประเทศไทย
กับประเทศต่างๆ ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์
การพัฒนา Belt and Road Initiative (BRI) ของสาธารณรัฐประชาชนจีน
คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2560 ให้การรถไฟแห่ง
ประเทศไทย (รฟท.) ดำเนินโครงการพัฒนารถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค
ช่วงกรุงเทพมหานคร - หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร - นครราชสีมา)
โดยเป็นการร่วมพัฒนาระหว่างประเทศในระดับรัฐบาลต่อรัฐบาล โดยฝ่ายไทย
รับภาระการลงทุนโครงการทั้งหมด และดำเนินการก่อสร้างงานโยธา และใช้เทคโนโลยี
การก่อสร้างและระบบรถไฟของจีน ซึ่งได้ทำพิธีเริ่มการก่อสร้างโครงการเมื่อวันที่
21 ธันวาคม 2560 โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้างโครงการ ใช้งบประมาณ
179,412.21 ล้านบาท คาดว่าจะเปิดให้บริการภายในปี 2570
แนวเส้นทางและสถานี
แนวเส้นทางและสถานี
แนวเส้นทางรถไฟไทย-จีน ระยะที่ 1 : กรุงเทพมหานคร – นครราชสีมา
มีระยะทาง 250.77 กิโลเมตร แบ่งเป็น
1. ทางวิ่งทางยกระดับ ระยะทาง 188.68 กิโลเมตร
2. ทางวิ่งทางระดับดิน ระยะทาง 54.09 กิโลเมตร
3. อุโมงค์ มี 2 แห่ง บริเวณมวกเหล็กและลำตะคอง ระยะทาง 8 กิโลเมตร
โดยมีสถานีรายทาง 6 สถานี ประกอบด้วย
1. สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
2. สถานีดอนเมือง
3. สถานีอยุธยา
4. สถานีสระบุรี
5. สถานีปากช่อง
6. สถานีนครราชสีมา
รูปแบบการให้บริการ
รูปแบบการให้บริการ
|
|
|
||||||
|
|
|
ติดตามความเคลื่อนไหว รถไฟความเร็วสูงไทย - จีน
ติดตามความเคลื่อนไหว รถไฟความเร็วสูงไทย – จีน
ปัจจุบัน โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย - จีน ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร
- นครราชสีมา อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างงานโยธา โดยแบ่งการดำเนินการ
เป็น 14 สัญญา และงานระบบรางและการจัดหาขบวนรถ 1 สัญญา
มีความก้าวหน้าผลการดำเนินการโครงการรวมทั้งสิ้น 36.94%
(ข้อมูล ณ วันที่ 25 ตุลาคม 2567)